เมนู

คาถาที่ 3


13) อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ
เสฏฺฐา สมา เสวิตพฺพา สหายา
เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น
พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหาย
ผู้ประเสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภค
โภชนะอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คาถาที่ 3 ง่ายโดยความของบท.
พึงทราบ สหายสมฺปทา สหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมในบทนี้ว่า
สหายสมฺปทํ อย่างเดียว คือสหายผู้ถึงพร้อมด้วยขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น
แม้เป็นอเสกขะ. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า เราสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมที่ท่านกล่าวแล้วแน่นอน. ท่านกล่าวว่า เราชมเชยโดยส่วนเดียว
เท่านั้น. ชมเชยอย่างไร ควรคบสหายที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอกัน.
เพราะเหตุไร เพราะเมื่อคบผู้ประเสริฐกว่าตนด้วยศีลเป็นต้น ธรรมมีศีล
เป็นต้น ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
เมื่อคบผู้เสมอกัน ธรรมทั้งหลายที่ได้ด้วยการทรงไว้เสมอกัน และกันด้วย
การบรรเทาความรำคาญแล้วย่อมไม่เสื่อม. เมื่อไม่ได้สหายผู้ประเสริฐกว่า
และเสมอกัน ควรเว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น แล้วบริโภค
โภชนะอันเกิดโดยธรรม โดยเสมอ และไม่ยังความคับแค้นให้เกิดขึ้น
บริโภคปัจจัยอัน ไม่มีโทษ กุลบุตรผู้ใคร่ในตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน